โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ศูนย์โรคหัวใจ

The Cardiac Center

ให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดแบบครบวงจร เป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้ เผยแพร่แก่ประชาชนและสังคม

เป็นศูนย์การแพทย์ตติยภูมิให้บริการวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและ หลอดเลือดแบบครบวงจร มีเทคโนโลยีและเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัย  ดูแลโดยทีมอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา และ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการวิจัยและเป็นศูนย์กลางความรู้เผยแพร่แก่ ประชาชนและสังคม

ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วย สาขาวิชาต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก สาขาวิชากุมารเวชศาสตร์หัวใจ และ สาขาวิชาวิสัญญีวิทยาหัวใจและทรวงอก  ปัจจุบันได้ร่วมกับสาขาวิชาภาพถ่ายรังสีหัวใจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์จากภาควิชารังสีวิทยาและ คณาจารย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจจากภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริการผู้ป่วยสมบูรณ์และครบวงจรมากที่สุด

วิสัยทัศน์

เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม  ด้วยคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ ที่จะก้าวไปข้างหน้าสู่ความเป็นเลิศ ยกระดับความสามารถทางการแพทย์และการรักษา พยาบาลของประเทศให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

พันธกิจ

ให้การศึกษา ผลิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศ ด้วยการค้นคว้า วิจัย สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์และการพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ พัฒนาคุณภาพ การบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

ภารกิจหน่วยงานที่สนับสนุน

  1. กลุ่มงานตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology)
  2. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology)
  3. กลุ่มงานสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)

1. กลุ่มงานตรวจหัวใจและหลอดเลือดนอนอินเวซีฟ (Adult Noninvasive Cardiology)

หน้าที่หลักและเป้าหมายของหน่วยงาน

ให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือดทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปโดย

  • ให้บริการที่ได้มาตรฐาน โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง                                                                           
  • เครื่องมือที่ได้มาตรฐานทันสมัย                                                                                                 
  • ทีมแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง                                                             
  • วินิจฉัยโรคที่ถูกต้องและทันเวลา                                                                                                            
  • ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน                                                                                                              
  • ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ                                                                                                     
  • ผู้ใช้ข้อมูลจากการตรวจภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก โดยไม่เสี่ยงต่อการเปิดเผยข้อมูลปกปิดของผู้ป่วย                                  
  • ให้การประเมิน รักษาเบื้องต้นและส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา             
  • เป็นต้นแบบระบบการบริการ การเรียนการสอน และค้นคว้าวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

ขอบเขตการให้บริการ

  1. ให้บริการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทางระบบหัวใจและหลอดเลือดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและส่งต่อผู้ป่วยไปยังช่องทางการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา

ให้บริการการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจและหลอดเลือดดังนี้คือ

1.1 การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) โดยมีการตรวจตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึง Advanced echocardiography ได้แก่

  • Three – dimensional echo ซึ่งช่วยให้แพทย์ประเมินความผิดปกติได้ชัดเจนขึ้น ทำให้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง
  • การตรวจ speckle tracking ซึ่งบอกการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างละเอียด

1.1.1 การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านผนังทรวงอก (Transthoracic Echocardiography ; TTE) โดยอาจมีการฉีด agitated saline ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้

1.1.2 การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านหลอดอาหาร (Transesophageal  Echocardiography ; TEE) โดยมีการให้ conscious sedation ระหว่างทำหัตถการตามแนวทางปฏิบัติของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย และฉีด agitated saline ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้

1.1.3 การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจร่วมกับการกระตุ้นหัวใจ (Stress echocardiography)

1.1.3.1 Treadmill stress echocardiography

1.1.3.2 Dobutamine – Atropine stress echocardiography

1.1.3.3 Supine ergometry stress echocardiography

1.2 การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพาน (Exercise stress test ; EST)

1.3 การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการใช้เวชศาสตร์นิวเคลียร์ (Myocardial perfusion ; MIBI) ร่วมกับทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

1.4 การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram ; ECG)

1.4.1 12-lead ECG

1.4.2 16-lead ECG

1.4.3 Flecainide-challenge ECG ในผู้ป่วยสงสัยโรคใหลตาย Brugada syndrome

1.5 การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดตามตัว แบบ 24 ชั่วโมง, แบบ 48, แบบ 72 ชั่วโมง (Holter monitoring)

1.6 การตรวจเตียงกระดกเพื่อวินิจฉัยการเป็นลมหมดสติ (Tilt table test ; TTT)

1.7 การบันทึกความดันโลหิตติดตามตัว 24 ชั่วโมง (Ambulatory blood pressure monitoring ; ABPM)

1.8 การตรวจวัดการอุดตันและความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Ankle brachial index ; ABI)

1.9 การตรวจประเมินสมรรถภาพโดยให้ผู้ป่วยเดินเร็วเป็นเวลา 6 นาที (Six-minute walk test ; 6MWT)

1.10 การตรวจไฟฟ้ากระตุกหัวใจเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (Cardioversion)  

1.11 การตรวจ point-of-care

2. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (cardiac MRI)

การตรวจแสกนหัวใจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอ (Cardiac MR – CMR) เป็นวิธีการตรวจการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งสามารถประเมินการทำงานของหัวใจอย่างละเอียด เครื่องตรวจจะอาศัยหลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุแล้วนำสัญญาณที่ได้มาประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ป่วยไม่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับรังสีใด ๆ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ เช่น ตรวจหาการตีบตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือรอยแผลเป็นที่หัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจวาย และยังสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดแดงส่วนปลายในอวัยวะอื่น ๆได้ด้วย โดยให้บริการ การตรวจแสกนหัวใจด้วยเครื่องเอ็มอาร์ไอชนิดต่าง ๆ ดังนี้

  • Stress Cardiac MRI เป็นการประเมินภาวะหัวใจขาดเลือดโดยการใช้ยากระตุ้น Adenosine/Dobutamine
  • Perfusion study เป็นการตรวจหาความปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ เยื่อหุ้มหัวใจ
  • Viability Study เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคของกล้ามเนื้อหัวใจว่าเกิดจากการขาดเลือด
  • Congenital heart Study เป็นการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของหัวใจที่เป็นมาแต่กำเนิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • Ventricular function (Noncontrast study) การตรวจสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ

2.1 ผู้ป่วยที่ได้รับ conscious sedation

2.2 ผู้ป่วยที่มีอาการทางหัวใจ และ/หรือ vital signs ไม่คงที่

3. การบริการตรวจตามนัดผู้ป่วยหัวใจที่ต้องการติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องมีการตรวจวินิจฉัยด้วยหัตถการอย่างอื่น เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย แบบ one-stop service ตัวอย่างเช่นกลุ่มผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจ ที่ยังไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาด้วยวิธี Invasive หรือ การผ่าตัดหัวใจ โดยจะมีการประเมินอาการ และตรวจechocardiogram เป็นระยะๆตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถส่งผู้ป่วยไปรักษาได้อย่างเหมาะสม โดยแพทย์เฉพาะทาง ภายใต้การควบคุมดูแลของอาจารย์แพทย์ ได้รับการดูแลจากทีมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่มีความสามารถเฉพาะทางในการดูแลและเฝ้าระวังผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย/มีความปลอดภัย มีการวางแผนการดูแล ร่วมกันของทีมสหสาขาอย่างสม่ำเสมอ

4. ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์ โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบ Hospital information system (HIS) อย่างเป็นระบบและทำให้เกิดความถูกต้อง สะดวกในการทำงานและการให้บริการ รวมถึงการเรียนการสอน งานวิจัย

4.1 ระบบ Cardiovascular information system – CVIS ในการลงทะเบียนผู้ป่วยและเก็บรายงานผลการตรวจทุกอย่างในห้องตรวจ Adult Noninvasive ไว้ในระบบ 

4.2 ระบบ Xcelera ซึ่งเป็นระบบ cardiovascular PACs ในการเก็บภาพและข้อมูลการตรวจ Echocardiography และ Cardiac Cath Diagnostic and Interventions  

4.3 ระบบ Cardiovascular Enterprise Viewer – CEV ในการเชื่อมโยงกลับไปที่ระบบ HIS เพื่อให้แพทย์สามารถดูผลการตรวจ และภาพเคลื่อนไหวจากระบบ Xcelera จากจุดต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลได้โดยสะดวก

4.4 ระบบ ISCV 2.3 (ซึ่ง Upจาก Xcelera 4.1 และ CEV 2.x) ซึ่งเป็นระบบ cardiovascular PACs ในการเก็บภาพและข้อมูลการตรวจ Echocardiography และ Cardiac Cath Diagnostic and Interventions และ ในการเชื่อมโยงกลับไปที่ระบบ HIS เพื่อให้แพทย์สามารถดูผลการตรวจ และภาพเคลื่อนไหวจากระบบ Xcelera จากจุดต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาลได้โดยสะดวก

5. การเรียนการสอน แหล่งศึกษาดูงานของบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกประเทศ

5.1 Live 3D Echo center เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เฉพาะทางแก่แพทย์ต่อยอด

5.2 Echo simulator (HeartWork®)

วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น 4 โซน A

เบอร์ติดต่อภายใน

02-256-4000 ต่อ 80423-4, 80430

ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

Website : https://chulalongkornhospital.go.th/cardiovascularmedicinehttp://www.chulacardiology.org   

2. หน่วยโรคหัวใจเด็ก (Pediatric cardiology)

พันธกิจ

หน่วยโรคหัวใจเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นภายใต้ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำของประเทศไทยที่ให้การรักษาโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด มีพันธกิจหลักเพื่อ

  1. เป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ และนานาชาติในการให้การดูแลรักษา รับส่งต่อผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด
  2. เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดโรคหัวใจเด็ก ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ฝึกทักษะการดูแลผู้ป่วยขั้นสูง ทันสมัย มีความสุข มีความตั้งใจจะเป็นผู้นำในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็กและโรคหัวใจแต่กำเนิดตั้งแต่วัยทารกไปจนถึงผู้ใหญ่อย่างครบวงจร
  3. พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี สร้างสรรค์นวัตกรรม และต่อยอดงานวิจัยให้สนองตอบต่อความต้องการของดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจในเด็ก และโรคหัวใจแต่กำเนิด ได้อย่างมีประสิทธิภาพและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง
ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน
  • ดูแลผู้ป่วยในหอผุ้ป่วยเด็กโรคหัวใจ สก.ชั้น 6 และ ผู้ป่วยโรคหัวใจเด็กกึ่งวิกฤต ที่ ตึก สก.ชั้น 6
  • ให้บริการคลินิกโรคหัวใจเด็ก ที่ ตึก ภปร ชั้น 9
  • ให้บริการคลินิกโรคหัวใจแต่กำเนิดในเด็กโตจนถึงผู้ใหญ่ ที่ ตึก สก.ชั้น 6
  • ให้บริการตรวจคลื่นสะท้อนเสียงหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจ แบบผู้ป่วยนอก ที่ห้องตรวจ Non invasive ตึก สก. ชั้น 6
  • ให้บริการตรวจภาพหัวใจและหลอดเลือดทางรังสีขั้นสูง ได้แก่การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจในเด็ก ที่ห้องตรวจ MRI ตึก ภูมิสิริ ชั้น 2 และ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจในโรคหัวใจแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ ที่ห้องตรวจ MRI ตึก ภูมิสิริ ชั้น 4 
  • ให้บริการสวนหัวใจเพื่อการวินิจฉัยและรักษา รวมถึงการศึกษาและรักษาสรรีระไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด ที่ห้องตรวจ Cath lab ตึก ภูมิสิริ ชั้น 4 
  • ให้บริการให้คำปรึกษาและการสร้างภาพสามมิติชั้นสูงเพื่อช่วยในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด ที่ตึก สก. ชั้น 6
  • ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดโรคหัวใจเด็ก 
วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

คลินิกผู้ป่วยนอก อาคารภปร ชั้น 9

หอผู้ป่วยในและหอผู้ป่วยโรคหัวใจกึ่งวิกฤต อาคารสก. ชั้น 6

เบอร์ติดต่อภายใน

02-256-4000 ต่อ 4966

3. กลุ่มงานสรีระไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Electrophysiology)

พันธกิจ

ให้บริการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ ป้องกันโรค และสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นเลิศ สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ และการพยาบาลที่มีคุณภาพมาตรฐานระดับนานาชาติ มีการพัฒนาคุณภาพ การบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

ปัจจุบันมีโครงการการใส่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหัวใจแบบไร้สาย (Leadless CIED) สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเต้นผิดจังหวะแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับหลอดเลือดสำหรับใช้ใส่สายกระตุ้นหัวใจ (Leads) รวมทั้งโครงการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบสองสาย แบบphysiologic คือ His bundle pacing (HBP) และ Left bundle branch area pacing (LBBAP) และโครงการการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับหัวใจโดยใช้ระบบการติดตามทางไกล Remote Monitoring

วัน เวลา และสถานที่ให้บริการ
  1. คลินิกเครื่องกระตุ้นหัวใจ ให้บริการในวันพฤหัสบดีช่วงบ่าย 13.00 – 16.00 น. (ยกเว้นวันพฤหัสดี สัปดาห์ที่ 5 ของเดือน)
  2. คลินิก หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ให้บริการในวันอังคารช่วงบ่าย เวลา 13.00 – 16.00 น.
  3. คลินิก Syncope ให้บริการในวันศุกร์ช่วงเช้า เวลา 08.00 – 12.00 น.
  1. ห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือดและสรีระไฟฟ้าหัวใจ ตั้งอยู่ ณ ตึกภูมิสิริฯ โซน A ชั้น 4
  2. คลินิกหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ตั้งอยู่ ณ ตึก ภปร.ชั้น 1 ให้บริการ วันอังคาร เวลา13.00 – 16.00 น.
  3. คลินิก Syncope ตั้งอยู่ ณ ตึก ภปร.ชั้น 12 ให้บริการในวันศุกร์ช่วงเช้า เวลา 08.00 – 12.00 น.
ช่องทางการติดต่ออื่น ๆ

ID Line : 065-304-7189, 061-292-1160 (EP CHULA )

ตึกวชิราวุธ ชั้น 2

วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ศูนย์โรคหัวใจ

 

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

หัวหน้างานบริหารงานทั่วไป

02 256 4000 ต่อ 3760

 

งานธุรการ

02 256 4000 ต่อ 3318, 3752

 

งานการเงินและบัญชี

02 256 4000 ต่อ 3750

 

งานพัสดุ

02 256 4000 ต่อ 3751, 3753, 5338

 

ทำนัด

02 256 4000 ต่อ 80411

บทความที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ

ศูนย์นิทราเวช

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก

ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร