โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายวิสัญญีวิทยา

EN Name...

ฝ่ายวิสัญญีวิทยา

Department of Anesthesiology

เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรม
และสร้างมาตรฐานระดับประเทศ

อดีต ศัลยแพทย์มีบทบาทในงานด้านวิสัญญีวิทยาโดยตรง คือ ผู้ให้ยาระงับความรู้สึก โดยสมัยก่อนมักให้ศัลยแพทย์ รุ่นเยาว์เป็นผู้ดมยา และให้ศัลยแพทย์อาวุโสเป็นผู้ผ่าตัด ทำให้วิสัญญีวิทยาจัดอยู่ในภาควิชาศัลยศาสตร์ ต่อมาศาสตราจารย์
นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ได้มีดําริคิดแยกหน่วยวิสัญญีวิทยาออกจากแผนกศัลยศาสตร์ เพื่อให้เป็นมาตรฐานตามสากลนิยมที่ว่า “โรงพยาบาลชั้นหนึ่งมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการแพทย์ในประเทศที่เจริญแล้วย่อมต้องมีแผนกวิสัญญีวิทยาเป็นแผนกอิสระของตนเอง”

ด้วยเหตุนี้ผลงานของวิสัญญีแพทย์จากอดีตสู่ปัจจุบันจึงมีความผูกพันและเชื่อมโยงกับความสําเร็จของงานศัลยกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถือได้ว่า เป็นผู้นําในการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ได้แก่ การผ่าตัดทําคลอดเด็กทางหน้าท้องรายแรกของประเทศ การผ่าตัดปอด การผ่าตัดหัวใจ และการริเริ่มใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม เป็นต้น ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุคของการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เช่น การปลูกถ่ายไตรายแรกของประเทศ ในปีพ.ศ. 2515 การปลูกถ่ายหัวใจและปลูกถ่ายตับรายแรกของไทย ในปี พ.ศ. 2530 อีกทั้งการผ่าตัดแยกเด็กแฝดสยามรายแรกและการผ่าคลอดเด็กหลอดแก้วรายแรก ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2530) อีกด้วย

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นฝ่ายวิสัญญีวิทยาแห่งแรกของประเทศไทยและอาจารย์ของฝ่ายฯ ได้มีบทบาทในการเข้าร่วมร่างแนวทางมาตรฐานวิชาชีพต่างๆ ตลอดจนการพิจารณาด้านจริยธรรมของแพทยสภา หรือแม้แต่การกําหนดค่าธรรมเนียมแพทย์ของวิสัญญีแพทย์ในประเทศไทย และยังได้รับความไว้วางใจในการก่อตั้ง จัดตั้ง และเป็นประธานราชวิทยาลัย วิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ได้แก่ 

  1. รศ.พญ.เพลินศรี จารุวร
  2. รศ.พญ.ปกจิตต์ วิยาภรณ์ 
  3. ศาสตราภิชานแพทย์หญิงคุณวรรณา สมบูรณ์วิบูลย์ 
  4. ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ 
  5. ศ.นพ.เทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์ 

อีกทั้ง ศ.พญ.สุปราณี นิรุตติศาสน์ ยังได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งนายกสมาคมการศึกษาด้านความปวด แห่งประเทศไทย (Thai Association for the Study of Pain : TASP) เป็นสมัยที่ 2 และ ผศ.นพ.สหดล ปุญญถาวร ได้รับเลือกเป็นผู้ดำรงตําแหน่งนายกสมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย รวมถึง อ.พญ.พรรณิกา วรผลึก ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ดำรงตําแหน่งประธานชมรมการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (Thai SRA) อีกด้วย

นอกจากนี้อาจารย์ในภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีบทบาทในระดับนานาชาติในฐานะนายกสมาคมการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน และการระงับปวดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asian Oceanic Society of Regional Anesthesia & Pain Medicine : AOSRA&PM)  ในปี ค.ศ. 2014-2016

ในด้านงานวิจัย ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มีผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและได้รับการกล่าวอ้างอิงสูงสุดของประเทศ โดยมีงานวิจัยที่เน้นด้านคุณภาพและความปลอดภัยต่อเนื่องมากว่า 10 ปี นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทําร่วมกับ สถาบันหรือคณะแพทยศาสตร์อื่นๆ ได้แก่ Thai Study ที่ทําการวิจัยในโรงพยาบาล 20 แห่งทั่วประเทศ และ Perioperative and Anesthetic Advance Events in Thailand (PAAd Thai) ในโรงพยาบาล 22 แห่งจากฐานข้อมูลผู้ป่วยกว่า 333,000 ราย เพื่อเป็นสถาบันชั้นนําที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาความปลอดภัย ทางวิสัญญีของประเทศ

เจตจำนง

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันต้นแบบทางการแพทย์ที่มีคุณธรรมและสร้างมาตรฐานระดับประเทศ

ภาระหน้าที่

ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้และทักษะด้านวิสัญญีวิทยา และแพทย์เฉพาะทางสาขาวิสัญญีวิทยาที่มีคุณภาพ กอปรด้วยคุณธรรม สร้างงานวิจัยที่มีคุณค่า ให้บริการทางการแพทย์ และวิชาการ เพื่อชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของชาติ และนานาชาติ ประชาคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความภูมิใจในสถาบัน

โครงสร้างของฝ่ายวิสัญญีวิทยา

การให้บริการของฝ่ายวิสัญญีวิทยา

ให้บริการทางการแพทย์และวิชาการ ในด้านการระงับความรู้สึก ผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีความรู้และทักษะด้านวิสัญญีวิทยาและแพทย์เฉพาะทางสาขาวิสัญญีวิทยาที่มีคุณภาพ


วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ

เปิดให้บริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา  08.00 – 16.00 น. (ในเวลาราชการ) ณ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 9

ข้อมูลติดต่อ

ชื่อฝ่าย/ศูนย์

ฝ่ายวิสัญญีวิทยา
อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ ชั้น 9

เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน

02 256 4000 ต่อ 60903 – 60910

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ฝ่ายปรสิตวิทยา

ฝ่ายจักษุวิทยา

ศูนย์ข้อมูลและต้นทุน