โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Search
Close this search box.

ฝ่ายการเงิน

Department of Finance

บริหารจัดการตามแนวนโยบาย และระเบียบทางการเงิน อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้

ในช่วงเวลาก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 นั้นยังไม่มีฝ่ายการเงินอย่างเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากเจตนารมณ์ในการก่อตั้งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์มีพระประสงค์ที่จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศล เพื่อเป็นถาวรประโยชน์ ใช้ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยยากไร้ 

สำหรับการบริหารจัดการของคณะผู้บริหารโรงพยาบาลในระยะต่อมา ได้มีการปฏิรูปโรงพยาบาล โดยจัดสรรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในขึ้น เช่น แผนกเลขานุการ แผนกธุรการ ซึ่งแบ่งเป็น หน่วยเงินเชื่อ หน่วยเงินสด หน่วยจัดซื้อ อาคารสถานที่ หน่วยช่าง หน่วยรักษาความปลอดภัย ต่อมาหน่วยเงินเชื่อและหน่วยเงินสดได้รวมเข้าด้วยกันเป็นแผนกการเงินและบัญชี จากนั้นเปลี่ยนจากแผนกการเงินและบัญชี เป็นฝ่ายการเงินและบัญชี ซึ่งประกอบด้วย 5 หน่วยงาน คือ หน่วยเงินสด หน่วยเงินเชื่อ หน่วยใบสำคัญ หน่วยงบประมาณ หน่วยบัญชี และอีก 1 ศูนย์ (ศูนย์บันทึกข้อมูล)

ในปี พ.ศ. 2547 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ปรับระบบการปฏิบัติงานภายในของฝ่ายการเงินและบัญชี ให้สอดคล้องกับนโยบายของระบบประกันสุขภาพ และด้วยภาระงานที่เพิ่มขึ้นจึงได้มีการปรับโครงสร้างกำหนดเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายบัญชีและงบประมาณ วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างเพื่อให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ มีความคล่องตัว และรวดเร็วขึ้น โดยมีนางนุชรัตน์ ศรีวรวิทย์ ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินคนแรก ในปี พ.ศ. 2548 จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ. 2551 จึงได้มีการแต่งตั้งนางประพันธ์ศรี เลิศฉัตรโกศล ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นคนที่สอง ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 โดยมีการปรับโครงสร้างฝ่ายการเงินใหม่โดยเพิ่มงานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นหน่วยงานใหม่ภายในฝ่ายการเงิน และหัวหน้าฝ่ายการเงินคนปัจจุบันดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 คือ นางสาวภัณฑิรา ชื่นจิตร

“ฝ่ายการเงิน” ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลักการกำกับดูแลกิจการ มุ่งเน้น “บริการดี มีคุณธรรม นำสู่การพัฒนา” บริหารองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนควบคู่ ไปกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

พันธกิจ

  1. วางแผนบริหารการจัดเก็บเงินรายได้อย่างเป็นระบบตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่าย ทันต่อปัจจัยภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. ศึกษาและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัย
  3. มีระบบควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ
  4. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถในการขับเคลื่อนงาน ควบคู่กับการให้บริการที่ดีโดยมุ่งเน้น Customer centric

ภารกิจที่หน่วยงานสนับสนุน

  1. พัฒนางานการเงินอย่างเป็นระบบ 
  2. เป็นศูนย์กลางด้านการบริหารการจัดเก็บเงินรายได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ควบคู่กับการพัฒนาคุณภาพงานบริการ

เจตจำนง

ฝ่ายการเงินเป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บเงินรายได้  พร้อมก้าวไปข้างหน้าให้องค์กรก้าวไกลเป็นสถาบันชั้นนำระดับนานาชาติ

ภาระหน้าที่

ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบการเงินให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งด้านการจัดเก็บเงินรายได้และบริการ มีระบบบริหารจัดการที่ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามปัจจัยที่มีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีการประสานงาน ภายในและภายนอกแบบบูรณาการเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์สนองต่อนโยบายโรงพยาบาล และสภากาชาดไทย รวมทั้งพัฒนาระบบการทำงานควบคู่ไปกับ การพัฒนาบุคลากรให้ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน เกิดคุณค่าต่อยอด ซึ่งกันและกัน มีการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ฝ่ายการเงิน ประกอบด้วยหน่วยงานย่อยภายในฝ่าย ได้แก่

  1. งานรับเงินผู้ป่วยนอก
  2. งานรับเงินผู้ป่วยใน
  3. งานเงินเชื่อ
  4. งานติดตามหนี้
  5. งานเงินกลาง
  6. งานธุรการ
  7. งานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน

การให้บริการของฝ่ายการเงิน

ฝ่ายการเงินมุ่งเน้นในการพัฒนาพฤติกรรมบริการให้แก่บุคลากรภายในฝ่ายการเงิน มีการปลูกจิตสำนึกให้บุคลากรใส่ใจหลักคุณธรรมควบคู่ ไปกับการพัฒนาองค์กรและสังคม โดยมุ่งเน้นลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Customer Focus)  เพื่อให้ผู้บริการได้รับการบริการที่ดี และเกิดความพึงพอใจสูงสุด โดยมีภารกิจหลักในการบริการดังนี้

  1. จัดเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเงินสด เงินเชื่อ  
  2. การรับเงินบริจาค  
  3. การรับเงินรายได้เบ็ดเตล็ด เช่น ค่าเช่าร้าน ค่าเช่าที่จอดรถ ค่าน้ำ-ค่าไฟ ฯลฯ 
  4. รวบรวมรายได้นำส่งสำนักงานการคลัง

โดยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานเพื่อวางแผนบริหารจัดการตามแนวนโยบายการเงินอย่างเป็นระบบ สามารถจัดเก็บเงินได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ฝ่ายการเงินได้ยึดถือคุณภาพควบคู่คุณธรรมเป็นหัวใจหลักในการให้บริการโดยได้รับรางวัล ผลงานคุณภาพบริการด้วยแนวคิด Lean ประเภทดีเด่น ในงาน Quality market ครั้งที่ 3 Lean and innovation ปี พ.ศ. 2553

งานบริการ วัน/เวลา และสถานที่ให้บริการ
1. งานบริการจัดเก็บหน่วยรับเงินผู้ป่วยนอก
คลินิกอายุรกรรม วันจันทร์, พุธ, พฤหัสบดีและศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น.
วันอังคาร เวลา 07.30 – 17.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 1
คลินิกโรคทางเดินอาหาร ตับและหัวใจ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา07.30 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 1
อายุรกรรมเฉพาะโรค วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 17.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 3
คลินิกเบาหวาน ไทยรอยด์ ลมชัก และฝ่ายเวชภัณฑ์ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 17.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 3
ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 06.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 4
ฝ่ายรังสี X-ray, Ultrasound วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 06.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 4
คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 5
คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 5
คลินิกศัลยกรรมทั่วไป วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 6
คลินิกศัลยกรรมเฉพาะทาง (ทางเดินปัสสาวะ) วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 6
นรีเวชกรรม/วางแผนครอบครัว วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 7
คลินิกสูติกรรม มีบุตรยาก วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 8
คลินิกกุมารเวชกรรม วันจันทร์, อังคารและพฤหัสบดี เวลา 08.00 – 16.00 น.
วันพุธ เวลา 07.30 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 9
โสต ศอ นาสิกวิทยา วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 10
ศัลยกรรมศีรษะและคอ ห้องทำการพยาบาล และส่องกล้อง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 10
คลินิกบริการแพทย์ชั้นสูง วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 11
Pre-admit, คลินิกเวชพันธุ์ศาสตร์และการแพทย์แม่นยำ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 11
ตรวจโรคเจ้าหน้าที่/ประกันสังคม วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 13
คลินิกผิวหนัง โรคปอด คลินิกโรคติดเชื้อ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 14
คลินิกเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 16
คลินิกทันตกรรม คลินิกระงับปวด วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคาร ภปร ชั้น 17
เภสัชกรรม วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคารจุมภฏพงษ์บริพัตร
คลินิกคัดกรองโรคอุบัติใหม่ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคารจงกลนี วัฒนวงศ์ ชั้น 1
คลินิกวัณโรค คลินิกโรคอุบัติใหม่ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 22.00 น. อาคารจงกลนี วัฒนวงศ์ ชั้น 3
2. งานบริการจัดเก็บหน่วยรับเงินผู้ป่วยใน
ศูนย์รับเงิน อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ (อาคารศูนย์ความก้าวหน้าทางวิชาการ) ทุกวัน เวลา 07.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคาร สก. ชั้น 2 ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคารอับดุลราฮิม ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M, 2, 8, 10, 18 ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคาร ส.ธ. ชั้น 3, 9, 13, 14 ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคารคลินิกพิเศษ 14 ชั้น ชั้น 1 ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคาร ล้วน-เพิ่มพูล ว่องวานิช ชั้น 4 ทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.
ศูนย์รับเงิน อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ (ER) ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
3. งานบริการการรับบริจาคเงิน การรับเงินรายได้เบ็ดเตล็ด การเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล การติดตามหนี้ และงานธุรการ ให้บริการทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น. อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
ชื่อหน่วยงาน เบอร์โทรศัพท์หน่วยงาน สถานที่
งานธุรการ 02 256 4000 ต่อ 3007 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
งานรับเงินผู้ป่วยนอก 02 256 5465 อาคาร ภปร ชั้น M
งานรับเงินผู้ป่วยใน 02 256 4000 ต่อ 80135 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ชั้น M
งานเงินกลาง 02 256 4856 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
งานติดตามหนี้ 02 256 4859 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
งานเงินเชื่อ 02 256 4314 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
งานวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน 02 256 4860 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12
หัวหน้าฝ่ายการเงิน 02 256 4759 อาคารจอดรถ 3 ชั้น 12

 

อีเมลหน่วยงาน

[email protected]

บทความที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มงานบริหารอาคารและสาธารณูปโภค

ศูนย์ประกันสุขภาพ

ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ศูนย์บริหารระบบกายภาพอาคารพิเศษ 1